ผู้เขียน หัวข้อ: แนวทางการป้องกันผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19  (อ่าน 472 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 619
    • ดูรายละเอียด
แนวทางการป้องกันผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19
« เมื่อ: วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2024, 20:19:01 น. »
แม้ว่าปัจจุบันจะยังมีการศึกษาเกี่ยวกับวัคซีนต่าง ๆ ที่ใช้ในการป้องกันโควิด 19 ไม่มากนัก แต่ก็มีข้อควรปฏิบัติเบื้องต้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19 ต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด ได้แก่


ข้อปฏิบัติตัว ก่อนรับวัคซีน

พิจารณาว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ห้ามฉีดวัคซีน หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดหรือไม่? และควรปฏิบัติตามข้อแนะนำนั้นอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19 ให้มากที่สุด

ให้ปฏิบัติตัวได้ตามปกติ ไม่ต้องเครียดหรือวิตกกังวล กินยาประจำได้ตามปกติ ยกเว้นกลุ่มยาที่ระบุไว้ว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อน นอกจากนี้ ให้ออกกำลังกายได้ตามปกติ แต่อย่าหักโหมเกินไป ส่วนเครื่องดื่มอย่าง ชา กาแฟ หากดื่มเป็นประจำอยู่แล้วไม่ต้องงด แต่ให้งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และที่สำคัญที่สุด พยายามพักผ่อนให้เพียงพอ

นอกจากนี้ ควรวางแผนการเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สอง ตามข้อแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่

    วัคซีนซิโนแวค ให้เว้นระยะห่างก่อนฉีดเข็มที่สอง 2-4 สัปดาห์
    วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ให้เว้นระยะห่างก่อนฉีดเข็มที่สอง 10-12 สัปดาห์


ข้อปฏิบัติตัว ในวันที่ฉีดวัคซีน

ควรนั่งรอดูอาการประมาณ 30 นาที เพื่อสังเกตอาการข้างเคียง หรืออาการแพ้วัคซีนโควิด


ข้อปฏิบัติตัว ภายหลังการฉีดวัคซีน

หากมีไข้ ให้รับประทานพาราเซตามอล 500 มก. ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ซึ่งไข้มักจะมีไม่เกิน 2 วัน หลังฉีดวัคซีน

นอกจากนี้ ควรเฝ้าดูอาการตัวเองอย่างเข้มงวดไปอีกอย่างน้อย 30 วัน ในระหว่างนั้น ให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม และพักผ่อนให้เพียงพอ หากมีเหตุการณ์ผิดปกติจากผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19 สามารถโทรปรึกษาได้ที่ hotline กรมควบคุมโรค โทร 1422 และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669
มีไข้ หลังฉีดวัคซีน   

ศึกษาเพิ่มเติม เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องทำอย่างไรบ้าง


กลุ่มบุคคลที่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19

    บุคคลที่มีประวัติแพ้รุนแรง (anaphylaxis) จากวัคซีนอื่นมาก่อน แนะนําให้ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านภูมิแพ้

    ผู้ป่วยที่เพิ่งมีอาการหรืออาการยังไม่เสถียรหรือยังมีอาการที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันชนิดเฉียบพลัน  หลอดเลือดสมองตีบชนิดเฉียบพลัน ให้ควบคุมอาการของโรคให้คงที่ แล้วจึงสามารถฉีดได้ทันที

    ผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินต้านการแข็งตัวของเลือด ควรมีผลระดับ INR อยู่ในระดับต่ำกว่า 3.0 ไม่ควรหยุดยาเอง  หากสงสัยว่าภาวะการแข็งตัวของเลือดมีปัญหา ควรปรึกษาแพทย์

    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ไต ตับ ปอด หัวใจ แนะนําให้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้เมื่อพ้น 1 เดือนหลังผ่าตัดและมีอาการคงที่แล้ว หรือเมื่อพ้น 1 เดือนหลังได้รับการรักษาภาวะปฏิเสธอวัยวะ โดยให้ปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลก่อน

    ผู้ป่วยโรคเลือดที่มีระดับเม็ดเลือดขาวต่ำรุนแรง ผู้ป่วยโรคเลือดที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell therapy) การปลูกถ่ายชนิด Car-T cell ให้ปรึกษาอายุรแพทย์โรคโลหิต 

    ผู้ป่วยที่ได้รับยาแอนติบอดี เช่น rituximab, omalizumab, benralizumab, dupilumab  แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้วัคซีน

    ผู้ป่วยโควิด 19 ที่เคยได้รับการบําบัดด้วยพลาสมาจากผู้ป่วยที่หายจากโควิด 19 หรือ monoclonal antibodies for treatment of COVID-19 (casirivimab & imdevimab) แนะนําให้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้เมื่อพ้น 3 เดือนหลังได้รับการบําบัดดังกล่าว

    ผู้ป่วยที่เป็นไมเกรน โรคซึมเศร้า หรือผู้ที่กินยาคุม ไม่มีความจำเป็นต้องหยุดยา ก่อนไปฉีดวัคซีนโควิด


แนวทางการป้องกันผลข้างเคียงวัคซีนโควิด 19 อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/covid-19