ผู้เขียน หัวข้อ: รถแลกเงิน: "เช่าซื้อรถ" เลือกดาวน์เท่าไหร่...ผ่อนยาวแค่ไหน คุ้มค่าเงินที่สุด?  (อ่าน 249 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 621
    • ดูรายละเอียด
รถแลกเงิน: "เช่าซื้อรถ" เลือกดาวน์เท่าไหร่...ผ่อนยาวแค่ไหน คุ้มค่าเงินที่สุด?

"รถยนต์" นับได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 สำหรับคนในยุคปัจจุบัน เพราะถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับหลายๆ คน ทั้งในการใช้ชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพ แต่ต้องยอมรับว่า "รถยนต์" เป็นสินค้าที่มีราคาสูง จึงต้องมีการทำธุรกรรมเพื่อให้คนที่ไม่มีเงินก้อนใหญ่ทำการ "เช่าซื้อ" จากสถาบันการเงิน โดยในการเช่าซื้อรถยนต์นี้ ผู้เช่าซื้อจะต้องจ่ายเงินเป็นงวดๆ พร้อมกับการเอารถมาใช้งานได้ก่อน ถึงแม้จะยังจ่ายเงินไม่ครบ แต่จำไว้นะคะว่า...กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่เราใช้อยู่นี้จะยังไม่เป็นของผู้เช่าซื้อจนกว่าจะชำระเงินครบตามสัญญา ส่วนในเรื่องของการคิดดอกเบี้ยสำหรับสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะคิดแบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate) ซึ่งคิดจากเงินต้นทั้งจำนวน และระยะเวลาการผ่อนชำระทั้งหมด (ดูวิธีการคิดดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มเติมกับ "กู้สินเชื่อส่วนบุคคลได้แค่ไหน และคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร?")

ตัวอย่างการเช่าซื้อรถที่มีเงินดาวน์แตกต่างกัน
นายสมชาย ต้องการซื้อรถที่มีราคา 1,000,000 บาท โดยมีเงินดาวน์จำนวน 25% ของราคารถยนต์ และใช้บริการเช่าซื้อรถยนต์จากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งเลือกระยะเวลาผ่อน 4 ปี เท่ากับ 48 งวด รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี

นางสาวสมศรี ต้องการซื้อรถที่มีราคา 1,000,000 บาท โดยมีเงินดาวน์จำนวน 40% ของราคารถยนต์ และใช้บริการเช่าซื้อรถยนต์จากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง ซึ่งเลือกระยะเวลาผ่อน 4 ปี เท่ากับ 48 งวด รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี

ตารางเปรียบเทียบ
เงินดาวน์(%)   เงินดาวน์(บาท)   เงินต้น
ที่ต้องผ่อน   เงินผ่อนต่องวด   รวมดอกเบี้ยจ่าย
สมชาย   25   250,000   750,000   17,500   90,000
สมศรี   40   400,000   600,000   14,000   72,000

สมศรี จ่ายดอกเบี้ยน้อยกว่า สมชาย   18,000

จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า "สมศรี" จ่ายดอกเบี้ยน้อยกว่า "สมชาย" ถึง 18,000 บาท เพราะฉะนั้น ถ้าจะต้องซื้อรถสักคันโดยที่เรายังไม่รีบที่จะต้องใช้รถ เราก็ควรเก็บเงินดาวน์ไว้มากๆ เพราะยิ่งมีเงินดาวน์มากก็ยิ่งช่วยให้เราจ่ายดอกเบี้ยน้อยลง เหมือนกับ "สมศรี" ที่จ่ายเงินดาวน์ไป 40% ของราคารถยนต์ จึงทำให้ "สมศรี" จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่านั่นเอง

ตัวอย่างการเช่าซื้อรถที่มีจำนวนงวดผ่อนแตกต่างกัน
นายโชคดี ต้องการซื้อรถใหม่ราคา 1,000,000 บาท มีเงินดาวน์จำนวน 25% ของราคารถยนต์ ทำเรื่องเช่าซื้อกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง โดยเลือกระยะเวลาผ่อน 5 ปี เท่ากับ 60 งวด รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี
นายมีชัย ต้องการซื้อรถใหม่ราคา 1,000,000 บาท มีเงินดาวน์จำนวน 25% ของราคารถยนต์ ทำเรื่องเช่าซื้อกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง โดยเลือกระยะเวลาผ่อน 4 ปี เท่ากับ 48 งวด รับดอกเบี้ย 3% ต่อปี

ตารางเปรียบเทียบ
เงินดาวน์(%)   เงินดาวน์(บาท)   เงินต้น
ที่ต้องผ่อน         เงินผ่อนต่องวด   รวมดอกเบี้ยจ่าย
โชคดี   25          250,000    750,000    14,375
(ผ่อน 60 งวด)    112,500
มีชัย   25          250,000    750,000    17,500
(ผ่อน 48 งวด)   90,000
โชคดี จ่ายดอกเบี้ยมากกว่า มีชัย   22,500

จากตัวอย่างนี้ จะเห็นได้ว่า "โชคดี" ที่เลือกผ่อน 60 งวด จะต้องจ่ายดอกเบี้ยแพงกว่า "มีชัย" ที่เลือกผ่อน 48 งวด เพราะฉะนั้น ถ้าเราเลือกระยะเวลาผ่อนสั้นลง และสามารถจ่ายเงินเพิ่มต่องวดได้ เราก็จะประหยัดดอกเบี้ยได้ถึง 22,500 บาท และหมดหนี้เร็วกว่าถึง 1 ปี หรือจะพูดได้ว่า "ยิ่งเลือกงวดผ่อนน้อยลง ดอกเบี้ยก็ยิ่งน้อย" เช่นกัน

วิธีคิดดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์
ส่วนใหญ่แล้วการเช่าซื้อรถยนต์ จะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือที่เรียกว่า "Flat Rate" โดยจะเริ่มคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งจำนวนและระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด จากนั้นสถาบันการเงินหรือผู้ให้สินเชื่อจะนำดอกเบี้ยที่คำนวณไว้มารวมกับเงินต้น แล้วหารด้วยจำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ ซึ่งเงินที่ผ่อนชำระจะเท่ากันทุกงวด เช่นเดียวกับจำนวนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะคงที่ทุกๆ งวดด้วย

จากคำถามที่ว่า "เช่าซื้อรถ เลือกดาวน์เท่าไหร่...ผ่อนยาวแค่ไหน คุ้มค่าเงินที่สุด?" ก็ขอสรุปได้ว่า เมื่อคิดที่จะซื้อรถด้วยการผ่อนกับสถาบันการเงิน หรือที่เรียกว่า "เช่าซื้อรถ" นั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำเป็นทางการเงินของแต่ละคนในการเลือกจำนวนเงินดาวน์ และจำนวนงวดผ่อน ว่าเราจะต้องเลือกเท่าไหร่ ยาวแค่ไหนถึงจะดีสุด คุุ้มสุด และเหมาะสุด สำหรับเรา เอาง่ายๆ เลยนะคะ ถ้าเรามีเงินดาวน์มากพอก็ควรที่จะดาวน์เยอะๆ ซึ่งก็จะทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินน้อยลง หรือถ้าเราต้องเลือกระยะเวลาการผ่อน เราก็ควรเลือกระยะเวลาที่สั้นลง (แต่ต้องมีเงินพอที่จะจ่ายในแต่ละงวด แบบไม่เดือดร้อนด้วยนะคะ) เพราะระยะเวลาที่สั้นลงนี้ก็จะทำให้เราจ่ายดอกเบี้ยให้กับสถาบันการเงินน้อยลงด้วยเช่นกันค่ะ