ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: แนวทางการป้องกัน มลภาวะทางเสียง  (อ่าน 514 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 601
    • ดูรายละเอียด
ฉนวนกันเสียง: แนวทางการป้องกัน มลภาวะทางเสียง
« เมื่อ: วันที่ 16 พฤศจิกายน 2023, 08:49:57 น. »
หลายครั้งเวลาที่เราไม่ได้ยินเราก็จะส่งเสียงดังเพื่อพูดคุย หรือหาอุปกรณ์เสริมมาช่วยให้ได้ยินเพิ่ม ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้บางครั้งก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากต้องทำหรือได้ยิน ‘เสียงดัง’ แทบจะตลอดเวลาอันนี้ไม่ดีแน่นอน นอกจากรำคาญแล้วอาจทำให้การรับรู้มีปัญหาตามมา รวมไปถึงปัญหาสุขภาพด้านอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น วันนี้มี แนวทางการป้องกัน มลภาวะทางเสียง มาแนะนำกัน มีอะไรบ้างไปดูเลย!


ผลเสียที่เกิดขึ้นจาก ‘มลภาวะทางเสียง’

ตอนเปิดใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิอย่างเป็นทางการ ก็มีข่าวคราวเกี่ยวข้องกับเสียงดังจากเครื่องบินที่ไปรบกวนชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณโดยรอบสนามบิน ไม่ว่าจะเป็นบ้านของผู้มีฐานะดี หรือกระทั่งชาวนาชาวสวน ต่างก็ได้ยินเสียงเครื่องบินตลอดทั้งวันเหมือน ๆ กัน และการที่ได้ยินเสียงดังเป็นเวลานานๆย่อมส่งผลเสียทั้งร่างกายและจิตใจ โดยทั่วไปมนุษย์เราจะได้ยินเสียงในช่วงความถี่ระหว่าง 20-2000 Hz ซึ่งเด็กทารกจะสามารถได้ยินเสียงได้ตั้งแต่ 0-20000 Hz1 จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเล็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กทารก มีอาการ 'ผวา' ได้ง่ายเมื่อได้ยินเสียงต่าง ๆ


    ตามหลักสากลแล้วเสียงที่ถือว่าเป็นอันตรายต่อกลไกการได้ยินนั้น คือเสียงที่ดังตั้งแต่ 85 เดซิเบลขึ้นไป
    ในขณะที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (USEPA) เสนอแนะว่าผู้ที่ได้รับเสียงเฉลี่ยเกิน 70 เดซิเบลเอ อย่างต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง เป็นระยะเวลานานจะกลายเป็นคนหูตึง ซึ่งความเสี่ยงของการสูญเสียการได้ยินจะขึ้นอยู่กับความดังของเสียง และระยะเวลาของการได้ยิน
    จากการวิจัยเพิ่มเติมยังพบว่านอกจากกลไกการได้ยินแล้ว เสียงยังทำให้คนเราเกิดความกังวล หงุดหงิด อารมณ์เสีย เพิ่มอัตราการเต้นของชีพจร เพิ่มความดันโลหิต และเพิ่มปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำลายสมาธิในการทำงานของแต่ละคน


แนวทางปรับปรุงบ้านเพื่อลดมลภาวะทางเสียง

วิธีที่เรานำมาแนะนำไม่ได้ทำตามยาก และสามารถทำตามได้ตามงบประมาณที่มีอยู่ ตาม 2 แนวทางใหญ่ ๆ คือ 

1.    เปลี่ยนระบบหน้าต่างโดยเลือกใช้กระจก 2 ชั้น (Double glazing) สามารถช่วยลดความดังของเสียงลงได้ค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังควรเสริมความสามารถในการกันเสียงให้กับผนังด้วยการเสริมผนังเบาแล้วกรุด้วยฉนวนไฟเบอร์กลาสไว้ในโครง วิธนี้ยิ่งช่วยให้ผนังสามารถดูดซับเสียงไว้ได้ เช่นเดียวกันกับหลังคาก็ควรติดตั้งฉนวนชนิดไฟเบอร์กลาสไว้เหนือฝ้าเพดาน หรือใช้ฉนวนประเภทเซลลูโลส หรือโพลียูริเทนโฟมฉีดพ่นที่ด้านในหลังคาก็จะช่วยกันเสียงได้แถมยังช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้ามาในตัวอาคารได้อีกด้วย

2.    ส่วนบริเวณพื้นที่โดยรอบบ้านควรปลูกต้นไม้ใหญ่และพืชคลุมดิน เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกรองเสียงและดูดซับเสียงที่สะท้อนจากตัวอาคารและบริเวณโดยรอบไปในครั้งเดียวกัน ซึ่งนอกจากช่วยลดเสียงดังแล้วยังช่วยสร้างความร่มรื่นแก่ตัวบ้าน พร้อมกับช่วยลดความร้อนที่สะสมโดยรอบอาคารได้อีกทางหนึ่ง ที่สำคัญควรปิดหน้าต่างไว้ด้วย เพราะแม้จะติดตั้งหน้าต่างที่มีกระจก 2 ชั้น แต่เมื่อเปิดหน้าต่างก็จะเป็นการเปิดช่องทางให้เสียงเล็ดลอดเข้าไปรบกวนภายในบ้านอยู่ดี ดังนั้นเวลาต้องการปรับปรุงบ้านเพื่อลดเสียงรบกวนจากภายนอก แนะนำให้ลองนำแนวทางที่นำเสนอไปใช้ได้ หากมีข้อสงสัยก็สามารถปรึกษาสถาปนิก หรือวิศวกรเพิ่มเติมได้ เชื่อว่าจะได้แนวทางที่เหมาะสมกับบ้านของท่านมากยิ่งขึ้น


เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับ แนวทางการป้องกัน มลภาวะทางเสียง ที่เรานำมาฝากนี้ มีประโยชน์มาก ๆ เลยใช่ไหมล่ะค่ะ เพราะการได้ยินเสียงดังตลอดเวลาไม่ใช่เรื่องที่ดีกับจิตใจและร่างกายเลย มันต้องหาแนวทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว เพื่อให้ตัวเองและครอบครัวใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขกับบ้านของเราจริง ๆ



ฉนวนกันเสียง: แนวทางการป้องกัน มลภาวะทางเสียง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/