ผู้เขียน หัวข้อ: โรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง  (อ่าน 367 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 535
    • ดูรายละเอียด
โรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง
« เมื่อ: วันที่ 21 เมษายน 2024, 14:40:47 น. »
ไวรัสตับอักเสบซี ถูกตรวจพบครั้งแรกในปี พ.ศ.2532 ทั่วโลกมีความชุก 1.8%ของผู้บริจาคโลหิต คาดว่าประชากรในประเทศไทยมีการติดเชื้อนี้ประมาณ 6แสนถึงหนึ่งล้านคน เชื้อไวรัสตับอักเสบซีมี 6 genotypes ในประเทศไทยพบ genotype 3 ร้อยละ40-50 รองลงมาคือ genotype 1 ร้อยละ20 และ genotype 6 อีกร้อยละ15-20

       
เชื้อไวรัสตับอักเสบซี ติดต่อโดยการรับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือดที่ปนเปื้อน หรือ จากเข็มฉีดยา มีดโกน อุปกรณ์ที่ใช้ในการสักหรือฝังเข็มที่ปนเปื้อนเลือดผู้ป่วย ส่วนการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยามีโอกาสน้อยมากๆ แต่จะสูงขึ้นในคนที่สำส่อนทางเพศถึง 0.4%ต่อปี โอกาสติดต่อจากมารดาสู่ทารกในครรภ์พบได้ 4-7%

       
การดำเนินของโรคหลังได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซี พบว่า 20%ของผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการดีซ่าน มากกว่าร้อยละ80จะเข้าสู่ตับอักเสบเรื้อรัง โดยมีการดำเนินโรคเป็นตับแข็ง20%ใน 20ปี และมีโอกาสเกิดมะเร็งตับ 20%ใน 5ปีหลังจากมีตับแข็งแล้ว อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้โรคดำเนินได้เร็วขึ้น ได้แก่ การดื่มแอลกอฮอล์ เพศชาย อายุมากกว่า4ปี และการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีหรือเอช ไอ วี ร่วมด้วย

       
การวินิจฉัยโรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง ทำได้โดยการตรวจหาภูมิคุ้มกัน Anti-HCV ซึ่งให้ความแม่นยำ92-99% จึงนิยมนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วย และสามารถตรวจยืนยันได้โดยใช้ HCV RNA เพื่อดูปริมาณไวรัสซีในเลือด ซึ่งมีประโยชน์ในการบอกโอกาสที่จะสนองตอบต่อการรักษาและดูแนวโน้มการตอบสนองในระหว่างการรักษา

     
การรักษาตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง มีจุดประสงค์ คือ

1. กำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี ป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่น
2. ลดการอักเสบในเนื้อตับ ชลอการเกิดพังผืดเพื่อลดการเกิดตับแข็งและมะเร็งตับ
3. ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคตับ เพิ่มคุณภาพชีวิต

       
ปัจจุบันยาที่ใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง คือ Pegylated Interferon และ Ribavirin ใช้เวลารักษา 6-12เดือน ตาม genotype ยาทั้งสองมีราคาแพง ปัญหาที่เกิดคือค่าใช้จ่ายที่ตามมาประกอบกับยามีผลข้างเคียงมาก จึงควรได้รับการดูแลและการเฝ้าติดตามผลข้างเคียงจากแพทย์เฉพาะทาง จากยาฉีด Interferon อันได้แก่ ไข้ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ผลต่อไธรอยด์ และ การกดไขกระดูก สำหรับ Ribavirin เป็นยารับประทานอาจก่อให้เกิดโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก อาจมีผื่นคัน ไอ เวียนศีรษะ นอกจากนี้ผู้ป่วยต้องคุมกำเนิดระหว่างรักษาจนกระทั่งหลังหยุดยารักษา 6เดือน เนื่องจาก Ribavirin มีผลต่อต่อทารกในครรภ์

       
แม้ว่าค่าใช่จ่ายในการดูแลรักษาโรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรังจะสูง แต่พบว่าการรักษาโดยใช้ Pegylated Interferon ร่วมกับ Ribavirinนั้น สามารถให้ประโยชน์ในเชิงป้องกันตับแข็ง ตับวายและมะเร็งตับ ทั้งยังให้ความคุ้มค่าในเรื่องคุณภาพชีวิตและชีวิตที่ยืนยาว และคุ้มกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการฟอกโลหิตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง การผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ และการรักษาความดันโลหิตสูงในระยะยาวอีกด้วย


โรคตับอักเสบซีชนิดเรื้อรัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/177