ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง: แนวทางทั่วไปที่ใช้ในการลดเสียง  (อ่าน 551 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 617
    • ดูรายละเอียด
การลดเสียงหรือการควบคุมเสียงรบกวนสามารถกระทำได้ที่แหล่งกำเนิดเสียงหรือที่ทางผ่านเสียง หากทำที่แหล่งกำเนิดเสียงแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจก็ไม่จำเป็นต้องทำที่ทางผ่านเสียง แต่ในบางกรณีก็มีความเป็นไปได้ที่ต้องทำทั้งแหล่งกำเนิดเสียงและทางผ่านเสียงพร้อมกัน ตัวอย่างแนวทางการลดเสียงที่ใช้กันทั่วไปได้แก่


การวางแผนพื้นที่ใช้สอย (Space Planning)

ในกรณีที่มีการใช้สอยอาคารที่อาจจะต้องเจอกับปัญหาเสียงรบกวน ควรหลีกเลี่ยงการวางผังของพื้นที่ที่ต้องการความเงียบสงบ เช่น ห้องประชุม ห้องทำงาน ห้องผู้บริหาร ให้อยู่ใกล้หรือติดกับแหล่งกำเนิดเสียง เช่น ห้องหม้อแปลงไฟฟ้า ห้องระบบทำความเย็น ห้องควบคุมลิฟท์ ห้องเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือติดกับถนนที่มีรถหนาแน่น


ตู้ครอบลดเสียง (Enclosures)

จัดเป็นอุปกรณ์สำหรับการลดเสียงที่ทางผ่านเสียง (path) ตู้ครอบลดเสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสามารถลดเสียงได้สูงถึง 70 dBA (full encloser ครอบแบบ 6 ด้าน) สิ่งที่ต้องคำนึงและพึงระวังในการออกแบบตู้ครอบคือเรื่องการระบายความร้อน (heat management) สำหรับแหล่งกำเนิดเสียงที่มีความร้อนสะสมขณะมีการใช้งาน


วัสดุกันเสียง (Barriers)

วัสดุกันเสียงหรือบาริเออร์อาจจะอยู่ในรูปของ ผนังกันเสียง กำแพงกันเสียง แผ่นกันเสียง ที่ไม่ได้ปิดคลุมแหล่งกำเนิดเสียงมิดชิดทุกด้านหรือตู้ครอบลดเสียง จึงเป็นข้อจำกัดของบาริเออร์ที่สามารถลดเสียงได้มากสุดราว 15 dBA ต่อให้วัสดุของบาริเออร์นั้นจะมีประสิทธิภาพการลดเสียง (IL: Insertion Loss) ในห้องทดสอบได้มากกว่านี้ก็ตาม


อุปกรณ์เก็บเสียง (Mufflers)

มัฟเลอร์เป็นอุปกรณ์เก็บเสียงที่ใช้ต่อระหว่างท่อส่งอากาศที่มีเสียงรบกวนภายในท่อ ประสิทธิภาพการลดเสียงของมัฟเลอร์จะใช้ค่า IL: Insertion Loss เป็นเรทติ้งคล้ายกับบาริเออร์ แต่การออกแบบมัฟเลอร์จะต้องคำนึงถึง ช่วงความถี่ของเสียงรบกวน (dominant frequency) และค่าแรงดันตก (static pressure drop) ที่จะเกิดขึ้นภายในท่อด้วย

 

วัสดุดูดกลืนเสียง (Absorptive Materials)

วัสดุดูดกลืนเสียงหรือที่นิยมเรียกว่า “วัสดุดูดซับเสียง” หรือ “แผ่นซับเสียง” สามารถนำมาใช้ลดระดับความดันเสียงจากปัญหาเสียงสะท้อนภายในอาคารได้สูงสุดถึง 10 dBA แต่ต้องเข้าใจว่าวัสดุดูดกลืนเสียงจะลดแค่ระดับเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ช่วยลดระดับเสียงของแหล่งกำเนิด การเลือกใช้ให้ได้ผลจึงต้องทราบลักษณะของเสียงที่เกิดขึ้นภายในห้อง



ฉนวนกันเสียง: แนวทางทั่วไปที่ใช้ในการลดเสียง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/