ผู้เขียน หัวข้อ: ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: จริงหรือ?! โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท  (อ่าน 107 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 615
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์ข้อมูลโควิด-19: จริงหรือ?! โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท

ไวรัสโควิด-19 สามารถทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ ในร่างกาย รวมถึงก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทโดยตรง ซึ่งเกิดจากการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการทางระบบประสาทที่พบในผู้ป่วย มีทั้งอาการไม่รุนแรง เช่น อ่อนเพลีย วิงเวียน สูญเสียการรับกลิ่น สูญเสียการรับรส หรืออาจมีอาการร้ายแรงจนถึงขั้นภาวะสมองอักเสบ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้!


อาการใหม่! โควิดสายพันธุ์โอมิครอน อาการเป็นอย่างไร?

ผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ต่อระบบประสาท

ไวรัสโควิด 19 (COVID-19) หรือเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นเชื้ออุบัติใหม่ของโลกในปลายปี 2019 และกำลังระบาดทั่วทั้งโลกในเวลานี้ อย่างที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 จะมีอาการผิดปกติทางระบบหายใจ และ/หรือ ระบบทางเดินอาหาร ในความเป็นจริงไวรัสโควิด 19 สามารถทำให้เกิดความผิดปกติอื่นๆ รวมไปถึงอาการทางระบบประสาทได้ ซึ่งมีรายงานจากต่างประเทศแล้วในปัจจุบัน


ไวรัสโควิด-19 มีผลต่อระบบประสาทได้อย่างไร ?

ในสมองโดยเฉพาะเซลส์เยื่อบุเส้นเลือดสมองจะมีตัวรับสัญญาณประสาท (receptor) ที่มี angiotensin converting enzyme-2 (ACE2) ซึ่งไวรัสโควิด 19 สามารถมีปฏิกิริยากับ ACE2 receptor นี้ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท


ไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ระบบประสาทได้อย่างไร?

    ผ่านทางระบบประสาทการได้กลิ่น (olfactory route) เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่โพรงจมูก เชื้อสามารถผ่านเยื่อบุโพรงจมูก (olfactory epithelium) และมีงานวิจัยสนับสนุนว่าเชื้อสามารถเข้าไปที่เส้นประสาทการรับกลิ่น (olfactory nerve) และไปที่ olfactory bulb ซึ่งอยู่ในสมองได้ (Spudich et al., 2020) เบื้องต้นทำให้ผู้ป่วยมีอาการไม่ได้กลิ่น (anosmia) นั่นเอง
    ผ่านทางแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (blood brain barrier) เป็นผลมาจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่เยื่อบุเส้นเลือดในสมอง (endothelial infection) ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเลือด ซึ่งเป็นส่วนประกอบของแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมอง (blood brain barrier) ในคนไข้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งเส้นเลือดมีปัญหาอยู่เดิม ทำให้เชื้อผ่านแนวกั้นระหว่างเลือดกับสมองได้ง่ายขึ้น (increase blood brain barrier permeability)
    ผ่านทางเซลล์ภูมิคุ้มกันและเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น monocyte, neutrophil, T-cell เป็นต้น


อาการทางระบบประสาทของการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

มีรายงานใน 30% ของผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาล 45% ของผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบรุนแรง และ 80% ของผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome-ARDS) (Helm et al., 2020; Mao et al., 2020) อาการทางระบบประสาท ที่พบเห็นได้บ่อยในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ไม่รุนแรง ได้แก่ อ่อนเพลีย วิงเวียน ปวดศีรษะ ไม่ได้กลิ่น รับรสไม่ได้ เป็นต้น อาการรุนแรงที่มีรายงาน มีดังนี้

ภาวะสมองอักเสบ (encephalopathy and encephalitis) ผู้ป่วยจะมีระดับความรู้สึกตัวที่เปลี่ยนไป (altered mental status) ซึ่งพบได้ไม่บ่อย แต่จะพบมากขึ้นในผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome-ARDS) เนื่องจากส่งผลให้สมองขาดออกซิเจน (hypoxic brain injury)

ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนแรงหรือชาแขนขาข้างใดข้างหนึ่ง หน้าเบี้ยว พูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด เป็นต้น มีรายงานว่าสามารถพบได้ 1-3% ของผู้ป่วยที่นอนโรงพยาบาลและพบได้ถึง 6% ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (Mao et al., 2020; Merkler et al., 2020; Yaghi et al., 2020) ส่วนมากเกิดในผู้ป่วยสูงอายุ ที่มีความผิดปกติของหลอดเลือดสมองอยู่เดิม สาเหตุจากเชื้อไวรัสโควิด 19 กระตุ้นให้เกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ (hypercoagulable state)

ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ซึ่งเกิดทั้งในระบบประสาทส่วนกลางและรอบนอก (central and peripheral nervous system) เช่น

    ภาวะที่มีการอักเสบของระบบประสาทส่วนกลางแบบกระจายทั่วไป (acute disseminated encephalomyelitis – ADEM) ผู้ป่วยจะมีระดับความรู้สึกที่เปลี่ยนไปและ/หรือลดลง (altered mental status) ร่วมกับมีความผิดปกติอื่นๆ เช่น อ่อนแรง เส้นประสาทสมองผิดปกติ การทำงานของไขสันหลังผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยภาพ MRI หรือ CT Scan ร่วมด้วยในการวินิจฉัยโรค
    กลุ่มอาการ acute hemorrhagic necrotizing encephalopathy ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันมีผลต่อสมอง เช่น ส่วน thalamus ซึ่งต้องอาศัยภาพ MRI หรือ CT Scan ร่วมด้วยในการวินิจฉัยโรค ผู้ป่วยจะมีระดับความรู้สึกที่เปลี่ยนไปและ/หรือลดลง เช่น มีอาการซึม เป็นต้น
    กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain barre syndrome) เกิดจากภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี้ (antibody) ทำลายเซลล์ประสาทของระบบประสาทรอบนอก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาตามร่างกาย (มักเกิดที่เท้าและขาสองข้างก่อน) และอาจเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขาทั้งสองข้าง และการหายใจมีปัญหาได้


นอกจากความผิดปกติทางระบบประสาทโดยตรง Covid-19 ยังส่งผลทางอ้อมต่อระบบประสาท ซึ่งเกิดจากการอักเสบของอวัยวะต่างๆ เช่น

    ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบ และภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน  (acute respiratory distress syndrome-ARDS) มีผลทำให้สมองได้รับออกซิเจนลดลง เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน (hypoxic brain injury)
    ไวรัสโควิด 19 ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ (systematic inflammation and immune dysregulation) เกิดภาวะ cytokine release syndrome
    ไวรัสโควิด 19 กระตุ้นให้สมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หลั่งสาร norepinephrine และ glucocorticoid ซึ่งทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ (immune dysregulation)
    ไวรัสโควิด 19 กระตุ้นให้เกิดภาวะแข็งตัวของเลือดง่ายกว่าปกติ (hypercoagulable state)