ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง กับตัวแบบจำลองทางเสียงที่กระทบกับชุมชน  (อ่าน 447 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 534
    • ดูรายละเอียด
หลักการและเหตุผล

มีหลายกรณีที่ปัญหามลภาวะทางเสียงมีความซับซ้อนจนไม่สามารถที่จะตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้ในทันที เช่น โรงงานมีลักษณะเป็นแหล่งกำเนิดเสียงแบบพื้นที่ มีแหล่งกำเนิดเสียงรบกวนหลายจุด แต่ละจุดมีลักษณะเสียงไม่เหมือนกัน แหล่งกำเนิดเสียงมีระดับความสูงต่ำไม่เท่ากัน มีเสียงดังแบบต่อเนื่องและเสียงดังแบบช่วงๆ การควบคุมเสียงจึงต้องใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เพื่อมาทำนายระดับเสียงที่เปลี่ยนไปในสภาพการจำลองแบบต่างๆ ผ่านตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้านเสียง หรือ Noise Simulation Models


ความจำเป็น

การทำตัวแบบจำลองทางเสียงที่กระทบกับชุมชนจะมีความจำเป็นสำหรับการวางแผนงานควบคุมเสียงในหลายกรณี เช่น เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิดเสียงทำงานตลอดเวลาโดยไม่มีวันหยุด ค่าพารามิเตอร์ของกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดเสียงมีหลายค่าและมีความไม่แน่นอน แหล่งกำเนิดเสียงหรือโรงงานที่ถูกร้องเรียนอยู่ใกล้หรืออยู่ติดกับโรงงานที่มีเสียงดังคล้ายกันทำให้แยกแยะไม่ได้ว่าเสียงใดกันแน่ที่รบกวนชุมชน หากเรามีข้อมูลดังกล่าวจะทำให้สามารถเชื่อมโยงปัญหาและแนวทางการแก้ไขได้ตรงจุด โดยการใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด


แนวทางการทำงาน

    เก็บข้อมูลเสียงในพื้นที่ที่มีการรบกวนหรือได้รับผลกระทบ
    จัดทำแผนที่เสียง (noise contour) และแผนที่ความถี่เสียง (octave contour)
    จัดทำ frequencies correlation analysis พร้อม noise simulation models
    เปรียบเทียบผลการจำลองของแผนที่เสียง ก่อนและหลัง การปรับปรุง
    เสนอแนวทางการควบคุมเสียงที่ทำได้จริง เหมาะกับปัญหาและงบประมาณ


ประโยชน์ที่ได้รับ

    ทราบระดับเสียงพื้นฐาน ค่าระดับการรบกวน และความดังเสียงในที่ทำงาน
    ทราบถึงแหล่งกำเนิดเสียง กำลังงานเสียง พร้อมลักษณะเสียงที่เกิดขึ้น
    แผนที่ระดับความดันเสียงและแผนที่ความถี่เสียง เพื่อบอกขอบเขตของปัญหา
    ตัวแบบจำลองทางเสียงตามแนวทางการควบคุมเสียง เพื่อหาวิธีการปรับปรุงที่ตรงจุด
    ลดความผิดพลาดในการตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ตรงประเด็น ไม่ต้องลองผิดลองถูก


ฉนวนกันเสียง กับตัวแบบจำลองทางเสียงที่กระทบกับชุมชน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/