ผู้เขียน หัวข้อ: โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดกับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยไม่ต้องผ่าตัด  (อ่าน 393 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 621
    • ดูรายละเอียด
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดกับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยไม่ต้องผ่าตัด

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีภาวะหัวใจพิการมาตั้งแต่กำเนิดในประเทศไทย มีสถิติสูงประมาณ 7,000- 10,000 คน นับเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้โรคหัวใจยังคงเป็นโรคที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการรักษา เดิมทีสามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว แต่ปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาใหม่ๆ เกิดขึ้น โดยไม่ต้องผ่าตัดก็ได้เช่นกัน

ภาวะหัวใจพิการแต่กำเนิดของเด็ก

จะมีความผิดปกติเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยสาเหตุของการเกิดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ได้มีการคาดการณ์เอาไว้ว่าอาจเกิดจากคุณแม่ที่มีความผิดปกติตอนตั้งครรภ์ เช่น เป็นโรคเบาหวาน หรืออาจเป็นเรื่องของพันธุกรรม ซึ่งยังไม่ได้มีการพิสูจน์ โดยโรคหัวใจพิการมีลักษณะอาการหลายอย่างกว่า 10 ชนิด แต่ทางการแพทย์ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ที่ความเขียวของตัวคนไข้ คือ ชนิดไม่เขียว และชนิดเขียว โดยอาการเขียวที่เกิดขึ้นจะเกิดบริเวณริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้าที่ออกเป็นสีเขียว

สาเหตุของผู้ที่เป็นโรคหัวใจชนิดเขียวคือ

โดยปกติหัวใจจะมีหน้าที่สูบฉีดเลือด ซึ่งประกอบไปด้วยเลือดดำและเลือดแดง เลือดแดงเป็นเลือดที่มีออกซิเจน และจะถูกสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนเลือดดำจะเป็นเลือดที่ส่งคืนกลับมา มีออกซิเจนน้อย แต่เมื่อเกิดความผิดปกติที่หัวใจอาจมีผนังที่รั่ว ทำให้เลือดแดงและเลือดดำปนกัน เลือดดำบางส่วนถูกสูบฉีดไปยังร่างกาย ทำให้ส่วนที่ควรจะแดงกลายเป็นสีขาวอย่างเช่นริมฝีปาก ปลายมือปลายเท้า และถ้าหากมีภาวะผนังรั่วร่วมกับลิ้นหัวใจที่ตีบ ซึ่งเป็นลิ้นที่กั้นหัวใจห้องขวาและปอด เมื่อเกิดอาการตีบจะทำให้เลือดไปฟอกที่ปอดได้ และเลือดดำส่วนนั้นพ้นกลับมาที่หัวใจห้องล่างซ้าย ทำให้เลือดดำไปเลี้ยงร่างกาย ตัวเด็กจึงมีอาการเขียวคล้ำ ส่วนฝั่งที่ไม่เขียวก็จะมีอาการอื่นแตกต่างกันไป

เด็กที่มีอาการแบบนี้จะมีอาการ

เหนื่อยหอบ ดูดนมได้น้อยกว่าเด็กปกติ ดูดได้ไม่เท่าไรก็แสดงอาการเหนื่อย มีอาการหอบ หายใจเร็ว หรือจมูกบาน การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ น้ำหนักตกเกณฑ์ และอาจติดเชื้อที่ปอดบ่อยๆ

สำหรับเด็กที่เป็นโรคหัวใจแบบเขียวจะสามารถสังเกตอาการได้ตั้งแต่คลอด แต่ถ้าหากเป็นชนิดไม่เขียว อาจต้องสังเกตที่ภาวะแทรกซ้อน ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา หัวใจจะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง อวัยะแต่ละส่วนทำงานได้ไม่ดี เกิดโรคแทรกซ้อนเกิดได้ทุกระบบ อย่างเช่น ปอด น้ำท่วมปอด ตับวาย ไตวาย เป็นต้น

พูดถึงแนวทางในการรักษาโรคหัวใจพิการ

สามารถทำได้โดยการผ่าตัด แต่ในเด็กบางคนแพทย์อาจรอดูอาการก่อน เพราะหลังคลอดไปจนถึง 1 ปี รอยรั่วอาจปิดเองได้โดยไม่ต้องผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแลและขนาดของรอยรั่วด้วย หากกรอบไม่ใหญ่มาก ก็มีโอกาสที่จะปิดเองได้ ส่วนการผ่าตัดจะต้องทำการผ่าตัดใหญ่เปิดแผลที่กลางหน้าอก เพื่อปิดผนังที่รั่วหรือซ่อมลิ้นหัวใจที่รั่ว หรืออาจจะรักษาด้วยการใส่สายสวนเข้าทางหลอดเลือด มีอุปกรณ์พิเศษเข้าไปปิดผนังรั่วโดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ก็ได้

สำหรับวิธีการเปลี่ยนหัวใจเทียม

สามารถทำได้โดยเปิดแผลกลางออกแล้วตัดลิ้นหัวใจเดิมออก เปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ใส่เข้าไป แต่มีวิธีที่ไม่ต้องผ่า คือมีลิ้นชนิดพิเศษขดในขดลวด แล้วเปิดแผลบริเวณหลอดเลือดที่เชื่อมกับลิ้นหัวใจ จากนั้นเอาใส่เข้าไปในหลอดเลือด นำขดลวดเข้าไปบริเวณลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจล่างขวาและปอด ก็สามารถทำงานได้ตามปกติ

แต่โดยทั่วไปวิธีการใส่ลิ้นหัวใจเทียมโดยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด จะทำหลังจากผ่าตัดใหญ่แล้ว เพราะลิ้นหัวใจที่ใส่เข้าไปจะตีบและใช้งานได้เพียง 5-10 ปีเท่านั้น มักจะรั่วตามหลัง และต้องกลับมาผ่าตัดอีกครั้ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมาก สำหรับการผ่าตัดซ้ำอีกครั้ง ฉะนั้นการใช้วิธีใส่ลิ้นหัวใจชนิดพิเศษแบบไม่ต้องผ่าตัดจะช่วยลดความเสี่ยงได้ดี อีกทั้งยังฟื้นตัวได้เร็ว และทำได้ภายในระยะที่รวดเร็วกว่าการผ่าตัดใหญ่