อาหารดีต่อสุขภาพ…ดีต่อสิ่งแวดล้อม
อาหารรักษ์โลก (Upcycling & Sustainable Foods) เริ่มต้นได้ง่ายๆด้วยตัวคุณเองจากการเริ่มตั้งแต่การทำอาหารที่ช่วยดูแลทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้ ดังนี้
1. กินอาหารท้องถิ่น อาหารพื้นบ้านที่อยู่ใกล้ตัว เป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่าย สะดวกและใกล้บ้าน เพื่อลดขั้นตอนในการขนส่ง และประหยัดพลังงาน จะเห็นได้ชัดจากการซื้อวัตถุดิบภายในประเทศย่อมดีกว่าการซื้อวัตถุดิบที่ต้องขนส่งมาจากต่างประเทศ
2. เลือกวัตถุดิบตามฤดูกาล ผัก ผลไม้ตามฤดูกาลได้ผลผลิตจากธรรมชาติตามฤดูกาลนั้นๆ ช่วยลดขั้นตอนการใส่สารเคมีเร่งผลการผลิต การเพาะปลูก ส่งผลีต่อระบบนิเวศของสัตว์น้ำต่างๆที่เป็นไปตามช่วงฤดูกาลอีกด้วย
3. ยืดอายุวัตถุดิบด้วยการถนอมอาหาร วัตถุดิบที่กินไม่หมดนำมาแปรรูปถนอมอาหาร เช่น ตากแห้ง การดอง การเชื่อม กวน แช่อิ่ม ทำกิมจิ ปลาร้า ฯลฯ
4. เน้นผักมากกว่าเนื้อสัตว์ กินผักดีต่อโลก และดีต่อสุขภาพ เพราะกระบวนการปลูกพืชใช้พลังงานและทรัพยากรน้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์
5. ประหยัดพลังงานด้วยการลดความร้อนจากกรรมวิธีทำอาหาร เช่น ปิ้งย่าง เผา รมควัน การใช้แก๊ส การเผาถ่าน เตาหุงต้ม ทั้งความร้อนและควัน จากการทำอาหารส่งผลต่อสภาพอากาศ เกิดมลภาวะเป็นพิษ ส่งผลทั้งกับสิ่งแวดล้อม และสุขภาพร่างกายทั้งสิ้น
อาหารเพื่อสุขภาพ…เพื่อผู้สูงวัย
ภูมิคุ้มกันสมดุล (Immunity balance) อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ สำคัญควรเน้นที่อาหารมาจากธรรมชาติ ลดการปรุงแต่ง มีสารอาหารที่ครบถ้วน เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มถดถอย ผลิตภัณฑ์หรืออาหารที่ดีมีคุณภาพจึงมีความต้องการอย่างมากในอนาคตของผู้สูงอายุ
เมื่ออายุมากขึ้นระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานถดถอยลง ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายก็ลดลงตามไปด้วย การรับประทานอาหารเพื่อให้ครบตามโภชนาการนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับผู้สูงอายุ จึงต้องมีการหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ อาหารเสริมบางชนิดที่จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันตามความต้องการของร่างกาย เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนแอลงจากการกินน้อย กินไม่ได้หลากหลาย
ผู้สูงวัยต้องแข็งแรงด้วยการดูแลสุขภาพด้านต่างๆ เช่น
พลังงานกับกล้ามเนื้อ
สมดุลรับบขับถ่าย
ระบบประสาทและสมอง
ไขมันชนิดดี
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้มีภูมิต้านทาน
กระดูก ข้อต่อ การเคลื่อนไหวร่างกาย
กระชายขาวมหิดล
ย้อนรอย กระชายขาวมหิดล สุดยอดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ เมื่อปี 2020 กระชายขาว เป็นกระแสโด่งดังทั่วประเทศ เมื่อมีข่าวดีถึงงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ จึงเป็นที่มาให้ประชาชนพูดกันติดปาก “กระชายขาวมหิดล”
กระชายขาว หรือที่รู้จักกันดีในนาม กระชายแกง สมุนไพรไทยพื้นบ้าน มากด้วยสรรพคุณ และคุณประโยชน์หลากหลาย มีปริมาณฤทธิ์ความเข้มข้นที่มากกว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรถึง 30 เท่า และดีกว่าสารสกัดขิง 10 เท่า จึงเป็นสุดยอดอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านเชื้อก่อโรคอย่างเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี
จากงานวิจัยด้วยความร่วมมือของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS พบว่า สารสกัดกระชายขาว สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสได้ ยังสามารถลดจำนวนเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสได้กว่า 100%
เมื่อมีข่าวออกสื่อกระจายทั่วประเทศจึงทำให้ กระชายขาว หรือ กระชายขาวมหิดล ช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสได้ ผู้บริโภคไม่น้อยหาซื้อรับประทาน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดเกษตรกรหน้าใหม่หันมาปลูก กระชายขาว เพื่อดำรงเลี้ยงชีพสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ เศรษฐกิจตื่นตัว ผู้ผลิตมีความเชื่อมั่นในว่า กระชายขาว นั้นสามารถยับยั้งเชื้อไวรัสและช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้
จากกระแส กระชายขาว ต้านเชื้อไวรัสได้นั้น จึงทำให้เกิดเกิดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกระชายขาวหลากหลายยี่ห้อแอบอ้างถึงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อขายของ กล่าวอ้างถึงสรรพคุณที่อาจทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดพลาดให้กับผู้บริโภคได้ โดยไม่ได้คำนึงถึงข้อควรระวัง และปริมาณการรับประทานเข้าไป ที่อาจมีความเสี่ยงต่ออันตรายกับผู้ที่เป็นโรคประจำตัวได้ เป็นการโฆษณาเกินจริงเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค
ย้อนข่าว กระชายขาวมหิดล วันที่ 25 พฤษภาคม 2021 นำโดย ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ออกหนังสือลงนามแถลงการณ์ เรื่อง การอ้างถึงผลงานการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อประกอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ เกี่ยวกับสรรพคุณของกระชายขาวสกัด ในการต้านโควิด
โดยระบุว่า ตามที่มีผลิตภัณฑ์กระชายขาวสกัดจำนวนหนึ่ง อ้างถึงผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) เกี่ยวกับสรรพคุณของสารกระชายขาวสกัดในการต้านโรคโควิด-19 เพื่อการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยมหิดล และ TCELS ขอชี้แจงว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือ TCELS และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน การนำภาพต่างๆ ของนักวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล และ TCELS ไปเพื่อประกอบการโฆษณาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาต
ทั้งนี้ คณะนักวิจัย พบว่า กระชายขาวสกัดมีฤทธิ์ต้านเชื้อก่อโรคโควิด-19 ได้ในหลอดทดลอง และอยู่ระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม ในด้านความปลอดภัย ปริมาณที่เหมาะสมต่อการบริโภค และข้อบ่งชี้การใช้ในมนุษย์เพื่อการต้านโรคโควิดอย่างเหมาะสม ดังนั้น จึงไม่มีความเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับการต้านโรคโควิดได้
กระชายพลัส: อาหารดีต่อสุขภาพ…ดีต่อสิ่งแวดล้อม อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/